เกร็ดความรู้

เรื่องที่1 คำพ้อง
คำพ้อง หมายถึง คำที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือซ้ำกัน คำพ้องเเบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
๑. คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้อง ต้องดูข้อความอื่นๆ ประกอบว่าคำพ้องรุปนั้นหมายถึงอะไร อ่านอย่างไร แล้วจึงอ่านให้ถูกต้อง 
ตัวอย่างคำพ้องรูป
- ปักเป้า
ปัก-กะ-เป้า หมายถึง ชื่อปลาชนิดหนึ่ง
ปัก-เป้า หมายถึง ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง
- สมาธิ
สะ-มา-ทิ หมายถึง การสำรวมใจเเน่วเเน่
สะ-หมาด หมายถึง ทานั่งขัดสมาธิ
- สระ
สะ หมายถึง แอ่งน้ำขนาดใหญ๋
สะ-หระ หมายถึง อักษรเเทนเสียงสระ
๒. คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนไม่เหมือนกัน แต่ออกเสียงเหมือนกัน และมีความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องเสี
ยง
- กรรณ (หู), กัณฐ์ (คอ), กันต์ (ตัด,โกน) = กัน
- ข้า (คนรับใช้), ค่า (คุณประโยชน์), ฆ่า (ทำให้ตาย) = ข้า
- ควาน (เอามือค้นหาของ), ควาญ (ผู้เลี้ยงเเละขับขี่ช้าง) = ควาน
- ศรี (สิริมงคล), สี (สิ่งที่ทำให้เป็นสีต่างๆ) = สี
๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง หรือ คำหลายความหมาย คือ คำที่เขียนเหมือนกันอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายหลายอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง คำอ่าน ความหมาย 
ตัวอย่างคำพ้องทั้งรูปและเสียง

-แกะ แกะ
๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้าประเภทหนึ่ง
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แคะให้หลุดออก
- ฟัน ฟัน
๑. เอาของมีคม เช่น ดาบฟาดลงไป
๒. กระดูกเป็นซี่ๆ อยู่ในปากสำหรับกัด ฉีก หรือเคี้ยวอาหาร
- ขัน ขัน
๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่ หรือนกบางชนิด

วิดีโอเรื่อง คำพ้อง
อ้างอิง http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940206/Synonym.html

เรื่องที่ 2  ประโยค
ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ดังนี้
- ภาคประธาน ประกอบด้วย ประธานและคำขยายประธาน 

- ภาคแสดง ประกอบด้วย กริยาและคำขยายกริยา
นอกจากนี้ อาจมีกรรมและคำขยายกรรมด้วย การสร้างประโยคอาจให้ภาคประธานหรือภาคแสดงขึ้นต้นประโยคก็ได้
• ถ้าให้ภาคประธานขึ้นต้นประโยค เช่น
- สมชายชอบหลับในเวลาเรียน
- สุนัขของสมปองไล่กัดแมวอย่างดุร้าย
• ถ้าให้ภาคแสดงขึ้นต้นประโยค เช่น
- วิ่งเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งรีบดื่มน้ำ
- เดินจนเมื่อยขา เธอก็ยังไม่บ่น
ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 6 ชนิด ดังนี้
๑. ประโยคบอกเล่าเป็นประโยคบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นการ แจ้งเรื่องราว บอกข่าวต่างๆ เช่น
- ตาของข้าพเจ้ามีอาชีพทำไร่ทำนา
- เมื่อช่างปั้นหม้อเสร็จก็นำไปแกะสลักลวดลาย และนำไปอบในเตาเผา
- มีดาราคนหนึ่งยิงตัวตายในลิฟต์ ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการฆาตกรรม
๒. ประโยคปฏิเสธ
เป็นประโยคมีใจตรงข้ามกับประโยคบอกเล่า อันความไม่ตอบสนองต่อผู้ถาม มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบในประโยค
- ผมไม่ได้ขโมยยางลบเขาไปนะ
- เธอไม่สามารถมากินข้าวกับผมได้
- ตาของผมเป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่นักการเมือง
๓. ประโยคคำถาม
เป็นประโยคที่ใจความ มักแสดงคำถามอยู่หน้าหรือหลังประโยค มี ๒ ชนิด ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบ มักใช้คำว่า อะไร ใด ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด เท่าใด อยู่หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น
- ใครเป็นคนทำกับข้าวไว้ให้
- วันนี้กินอะไร
- เราจะไปเชียงใหม่โดยการเดินทางแบบใด
ประโยคคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบรับ หรือปฏิเสธ มักมีคำว่า หรือ หรือไม่ ไหม ท้ายประโยค เช่น
- ยางลบก้อนนี้ของคุณหรือ
- คุณไปกินข้าวกับผมได้หรือไม่
๔. ประโยคคำสั่งเป็นประโยคบอกให้ทำหรือไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้ ประโยคจะมี ๒ ลักษณะ คือ ประโยคสั่งให้ทำ มักใช้กริยาขึ้นต้นประโยค จะใช้คำว่า จง แต่หากมีประธานขึ้นต้นจะมีคำว่า ซิ นะ หน่อย ต่อท้ายประโยค เช่น
- จงนั่งเร็วๆหน่อย
- เธอพูดดีๆนะ
- จงทำตามที่เธอสั่ง
ประโยคห้าม หรือสั่งไม่ให้ทำ มักละประธาน และใช้คำว่า อย่า ห้าม ขึ้นต้นประโยค เช่น
- อย่าเดินลัดสนาม
- ห้ามทิ้งขยะลงชักโครก
- ห้ามจับปลาฤดูวางไข่
๕. ประโยคแสดงความต้องการ
เป็นประโยคที่มีใจความแสดงความต้องการ อยากได้ อยากมี อยากเป็น มักมีความว่า ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยค เช่น
- ฉันปรารถนาที่จะบินได้เหมือนนก
- เเม่ต้องการให้ฉันเป็นเด็กดี
- พ่อประสงค์ให้ฉันเรียนต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
๖ .ประโยคขอร้อง ชักชวน และอนุญาต 
เป็นประโยคมีใจความขอร้อง ชักชวน หรืออนุญาต อาจละประธานไว้ มักมีความว่า ซิ หน่อย นะ น่า อยู่ท้ายประโยค และมีความว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค เช่น
- โปรดอย่าส่งเสียงดังในห้องสมุด
- เราออกไปเดินเล่นงานกาชาดกันดีกว่านะ
- เธอเข้าไปเถอะนะ

อ้างอิง http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940206/Sentence.html


5 comments:

  1. เนื้อหา ดีมากค่ะ เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการสอนได้อย่างดีค่ะ

    ReplyDelete
  2. เป็นประโยชน์มากจ้า เนื้อหาดีเลยทีเดียว

    ReplyDelete
  3. ดีมากค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ กะลังหายุพอดีเลยค่ะ

    ReplyDelete
  4. เนื้อหาละเอียดดีมากเลยค่ะ

    ReplyDelete
  5. เนื้อหาดีน่าอ่านคะ

    ReplyDelete